วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

มาขายแหนมกันดีกว่า

ตอนที่ 5
มาขายแหนมกันดีกว่า


การที่จะดำเนินกิจการ จำหน่ายแหนม ที่ประสบความสำเร็จ จะต้องมีความรู้ เกี่ยวกับตลาด การกำหนดราคา การจัดจำหน่าย และการจัดทำบัญชี

1. การเข้าสู่อาชีพ

การทำแหนมเมืองเหนือ ในการตัดสินใจเข้าสู่อาชีพการทำแหนมเมืองเหนือได้นั้น จะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบตนเองว่ามีความพร้อมในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด เช่น ความสนใจ สถานภาพการเงิน
2. มีความรู้และความสามารถเกี่ยวกับการทำแหนมเมืองเหนือ มากน้อยเพียงใด
3. ความต้องการของผู้บริโภคในชุมชนนั้นเป็นอย่างไร

2. การตลาด


การตลาด คือ การดำเนินงานทางธุรกิจในการนำสินค้าและบริการ ให้ไหลจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภค เพื่อให้ถึงมือผู้บริโภคในเวลา สถานที่ รูปร่าง ที่ผู้บริโภคต้องการและในเวลาที่ผู้บริโภค
ปรารถนาที่จะซื้อ
2.1 การศึกษาความต้องการของตลาด ประโยชน์ของการศึกษาความต้องการของตลาด
2.1.1 ช่วยในการวางแผนการผลิต/จำหน่าย
2.1.2 ลดต้นทุนการผลิต
2.1.3 ติดตามสถานการณ์เพื่อวางแผนการจำหน่าย
2.2 ข้อมูลการตลาดที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการ
2.2.1 ค้นให้พบว่าต้องการอะไร
2.2.2 เลือกสินค้าหรือบริการที่นำไปเสนอขาย แล้วสนองความต้องการ ของลูกค้าได้
2.2.3 ตั้งราคาขายและดำเนินการขาย
2.2.4 ทำการโฆษณาสินค้า และส่งเสริมให้มีผู้สนใจซื้อมากขึ้น
2.2.5 นำสินค้าออกเสนอขายและจัดจำหน่ายให้ทั่วถึง
2.2.6 ทำให้เกิดผลกำไรจากการขายสินค้าหรือบริการขึ้นมา

3. การกำหนดราคา


การกำหนดราคาสินค้ามีมากมายหลายแบบ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องคำนึงถึงราคาที่สูงที่สุดที่ ผู้ซื้อสามารถซื้อได้ และราคาต่ำสุดที่จะได้เงินทุนคืน คือจะตั้งราคาขายเพิ่มจากต้นทุนในการผลิต ในระหว่าง 40-50 เปอร์เซ็นต์

ตัวอย่างการคิดราคาขาย

การทำแหนม 1 กิโลกรัม ใช้ต้นทุนทั้งหมด 100 บาท ต้องการกำไรร้อยละ 5
กำไรต่อ 1 กิโลกรัม 50 x 100/100 = 50 บาท

ต้องตั้งราคาขายกิโลกรัมละ 150 บาท

การคิดราคาขายจะมีการยืดหยุ่นได้ตามราคาของวัตถุดิบและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

การจัดจำหน่าย

การจัดจำหน่ายสินค้า หมายถึง การนำสินค้าจากผู้ผลิตไปถึงลูกค้าผู้บริโภค จึงหมายรวมถึงการขายและซื้อสินค้าส่งทอดกันไป ตั้งแต่ผู้ค้าส่งถึงผู้ค้าปลีก รวมทั้งวิธีการขนส่ง นำสินค้าเคลื่อนย้ายไปแต่ละขั้นตอน
การจัดจำหน่ายโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ช่องทาง คือ

1. จากผู้ผลิต - ผู้บริโภค
2. จากผู้ผลิต - คนกลาง - ผู้บริโภค

ช่องทางจำหน่ายที่ดีที่สุด คือ ช่องทางการจัดจำหน่าย ที่ให้ผลกำไรแก่ผู้ผลิต มากที่สุด เพื่อให้ การขายหรือจำหน่ายสินค้าที่มีปริมาณมากให้ได้ดี ควรเลือก ช่องทางจัดจำหน่ายให้หลากหลาย อาจมีช่องทางหลักอยู่หนึ่งช่องทางที่มั่นคง แล้วก็มีช่องทางเสริมเพื่อให้การจำหน่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. การจัดทำบัญชี

การจัดทำบัญชี หมายถึงการจดบันทึกรายการซื้อขายทุกอย่างที่มีขึ้น ในการประกอบธุรกิจ ซึ่งเราสามารถกำหนดค่าออกมาเป็นตัวเงิน ไว้เป็นหลักฐานได้ การทำบัญชีรายรับรายจ่ายนั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการลงทุนประกอบอาชีพ เพราะทำให้ได้ทราบถึงต้นทุน กำไร รวมถึงปริมาณการผลิตและการขายสินค้า

ตัวอย่างบัญชีรายรับ / รายจ่าย ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2537]

ว/ด/ป
รายรับ
จำนวนเงิน
ว/ด/ป
รายจ่าย
จำนวนเงิน
บาท
สต.
บาท
สต.

1/2/37 ขายแหนม
1,000
-
1/2/37 เนื้อหมู
300
-





หนังหมู
100
-
13/2/37 ขายแหนม
500
-
13/2/37 เนื้อหมู
300
-





หนังหมู
100
-





กระเทียม
50
-
28/2/37 ขายแหนม
200
-







1,700
-


850
-

กินแหนมกันอย่างไรดี

ตอนที่ 4
กินแหนมกันอย่างไรดี


แหนมนอกจากใช้บริโภคสดแล้ว ยังสามารถนำไปประกอบอาหาร ชนิดอื่นๆ ได้หลายอย่าง และควรคำนึงถึง สุขวิทยา ของผู้บริโภคด้วย

ข้าวผัดแหนม
เครื่องปรุง

- ข้าวสุก 2 ถ้วย
- กระเทียม 2 ช้อนโต๊ะ
- หอมหัวใหญ่ 1/4 หัว
- แหนม 1/4 ถ้วย
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 1-2 ช้อนโต๊ะ
- ไข่เป็ดหรือไข่ไก่ 1 ฟอง
- แตงกวา 3 ผล
- ผักคะน้า 2-3 ต้น
- มะเขือเทศ 1 ผล
- ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ
- ต้นหอม 2-3 ต้น
- ถั่วลิสง 1/4 ถ้วย
- น้ำมันพืช 1/4 ถ้วย

วิธีทำ

1. หุงข้าวให้สวยเตรียมไว้
2. นำกระทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันลงไปพร้อมกับกระเทียมที่โขลกไว้ เจียวให้เหลือง ใส่แหนมลงไปผัด
3. ใส่ผักคะน้าผัดพอให้ผักคะน้าสุกเล็กน้อย ใส่ข้าวสวย ไข่ หอมหัวใหญ่และมะเขือเทศลงไปผัด
4. ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย ซอสปรุงรส หรืออาจเพิ่มรสชาติอีกตามความต้องการ
5. จัดใส่จานโรยด้วยถั่วลิสง แล้วเคียงด้วยแตงกวา ต้นหอม มะนาวผ่าซีก สำหรับผู้ที่ชอบเปรี้ยว
6. สูตรนี้รับประทานได้ 2-3 คน

ยำแหนมสด
เครื่องปรุง

- แหนม 1 กิโลกรัม
- น้ำมะนาว 1/2 ถ้วย
- หอมซอย 1/4 ถ้วย
- ขิงอ่อนซอยฝอย 1/4 ถ้วย
- พริกขี้หนูซอยฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ใบหอมหั่นฝอย 1/4 ถ้วย
- พริกขี้หนูแห้งทอดกรอบ 1/8 ถ้วย
- ถั่วลิสงคั่ว 1/2 ถ้วย
- น้ำปลา 1/4 ถ้วย

วิธีทำ

นำแหนมคลุกกับน้ำมะนาว แล้วใส่หอม ของ ใบหอม น้ำปลา พริกขี้หนูสด ให้มีรสเค็มเปรี้ยว และตักใส่จานที่รองด้วยผักกาดหอม แต่งหน้าด้วยถั่วลิสงคั่ว พริกทอด

สูตรนี้รับประทานได้ 4 - 6 คน

ผักที่ใช้รับประทาน ผักชี ผักกาดหอม กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว

สิงห์เหนือเสือใต้
เครื่องปรุง

- สะตอแกะแล้ว 2 ถ้วย (120 กรัม)
- พริกขี้หนูสด 2 ช้อนโต๊ะ (10 กรัม)
- กระเทียม 10 กลีบ (5 กรัม)
- แหนม 2 ถ้วย (165 กรัม)
- น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมันพืช 4 ช้อนโต๊ะ
- น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ

1. แกะสะตอเอาแต่เม็ดผ่าซีก
2. ยีแหนมให้กระจาย
3. โขลกกระเทียมและพริกขี้หนู
4. น้ำน้ำมันใส่กระทะตั้งไฟ พอร้อนนำกระเทียม และพริกขี้หนูที่โขลกไว้ ลงผัดจนหอม ใส่แหนมผัดพอสุก ใส่สะตอแล้วปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาล ให้มีรสเค็ม เปรี้ยวหวาน รับประทานขณะร้อน ๆ
5. สูตรนี้รับประทานได้ 3-5 คน

แหนมหลน
เครื่องปรุง

- แหนม 1 ถ้วย (90 กรัม)
- กะทิ 1/2 ถ้วย
- เกลือ 1 ช้อนชา
- น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
- หอมซอย 1 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
- พริกขี้หนู 15 เม็ด (5 กรัม)

วิธีทำ

1. ยีแหนมให้ละเอียด
2. นำกระทิใส่หม้อตั้งไฟ คอยคนอย่าให้แตกมัน
3. ใส่พริกขี้หนู ชิมรสให้ออกรสเปรี้ยว เค็ม หวาน
4. เติมมะนาวถ้าไม่มีรสเปรี้ยว ใส่หอม ยกลง
5. สูตรนี้รับประทานได้ 3-5 คน

ผักที่ใช้รับประทาน มะเขือต่าง ๆ แตงกวา ต้นหอม ผักชี ขมิ้นขาว

ลักษณะของแหนมหลนที่ดี

- มีสีขาว
- ไม่แตกมัน
- ข้น

แกงตำลึงใส่แหนม
เครื่องปรุง

- จิ้นส้ม (แหนม) ยีให้กระจาย ? ถ้วย
- ตำลึงเด็ดยอดอ่อน 1 ถ้วย
- น้ำ 1 ถ้วย
- พริกหนุ่ม 2 เม็ด
- หอมแดง 3 หัว
- กระเทียม 5-10 กลีบ
- กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
- น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ

วิธีทำ
1. โขลกพริกหนุ่ม หัวหอม กระเทียม กะปิ ให้เข้ากันดี
2. นำน้ำใส่หม้อ ตักน้ำพริกลงละลาย ตั้งไฟพอเดือด ใส่แหนมและยอดตำลึง
3. พอเดือดยกลง ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว ให้มีรสเปรี้ยว เค็ม
4. สูตรนี้รับประทานได้ 3-5 คน

นอกจากการใช้แหนมประกอบอาหารดังกล่าวมาแล้ว อาจจะนำแหนมไปหมก หรือย่างไฟ (สำหรับแหนมบรรจุในใบตอง) จะทำให้มีกลิ่นหอม และน่ารับประทาน มากขึ้น

ข้อแนะนำในการบริโภคแหนม

1. ควรบริโภคแหนมที่สะอาด และควรปรุงให้สุกก่อนบริโภค เพื่อฆ่าพยาธิ และเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น พยาธิตัวตืด ซึ่งอาจจะติดอยู่ในเนื้อสัตว์ที่นำไปทำแหนม เป็นต้น ไม่ควรปรุงแหนมสุก ๆ ดิบ ๆ
2. แหนมที่ปรุงเป็นอาหารต่าง ๆ แล้ว ควรใส่ภาชนะที่สะอาด
3. ในระหว่างการปรุงอาหารไม่ควรให้แมลงวันตอม เพราะอาจจะเป็นพาหะ ของเชื้อโรคต่าง ๆ ทำให้ผู้บริโภคเป็นอันตรายได้
4. ในทุกขั้นตอนของการปรุงอาหารควรรับรักษาความสะอาด หากมีการเตรียม หรือการทำไม่ถูกสุขาภิบาล มีสิ่งสกปรกหล่นลงไปในอาหาร จะทำให้ไม่ปลอดภัย ต่อการบริโภค

ทำแหนมกันได้อย่างไร

ตอนที่ 3
ทำแหนมกันได้อย่างไร


แหนม เป็นผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ นิยมรับประทานกันมาก ในภาคเหนือ ได้จากการหมักเนื้อสัตว์ ข้าว น้ำตาล สารประกอบไนเตรท ไนไตรท์ และส่วนผสมอื่นๆ ทำการหมัก โดยอาศัยเชื้อจุลินทรีย์ จากธรรมชาติ สร้างกรด ทำให้เกิดรสเปรี้ยว
1. วิธีการทำแหนม
แหนมเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์พื้นบ้านชาวเหนือของไทย มีรสชาติเปรี้ยว เนื่องจาก เกิดการหมัก ของจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในเนื้อตามธรรมชาติกับน้ำตาล ข้าวและโปรตีนในส่วนผสมเนื้อ มาศึกษา กันเถอะ ว่าทำแหนมกันได้อย่างไร ควรเลือกภาชนะในการทำแหนมและเก็บรักษาแหนมอย่างไร และที่สำคัญคือ สุขลักษณะในการทำแหนมเป็นอย่างไร

1.1 การเตรียมวัตถุดิบ
สูตรที่ 1
- เนื้อหมู 1 กิโลกรัม
- หนังหมู 30 กรัม
- ข้าว 100 กรัม
- กระเทียม 100 กรัม
- เกลือ 20 กรัม
- เกลือไนเตรท ไนไตรท์ (ผงเพรก) 0.5 กรัม

สูตรที่ 2
- เนื้อหมู 12 กิโลกรัม
- หูหมู 3 กิโลกรัม
- หนังหมู 5 กิโลกรัม
- เกลือ 400 กรัม
- เกลือไนเตรท ไนไตรท์ (ผงเพรก) 40 กรัม
- รีกัลเบส 40 กรัม
- น้ำตาลทราย 40 กรัม
- กระเทียม 800 กรัม
- ข้าวเหนียวหรือข้าวเจ้า 500 กรัม
- พริกขี้หนูสวน 500 กรัม
1.2 ขั้นตอนการทำแหนม

1.2.1 การเตรียมวัตถุดิบ
เนื้อที่ใช้ควรเป็นเนื้อแดงสดที่ชำแหละใหม่ ๆ เนื้อส่วนต้นขาเป็นส่วนที่ดีที่สุด เนื่องจาก มีมันแทรกน้อย และเมื่อนำมานวดกับเครื่องปรุงต่าง ๆ จะได้ส่วนผสมที่เหนียว เนื้อที่ใช้ทำแหนม ไม่นิยมล้างน้ำ เนื่องจากเนื้อจะดูดซึมน้ำทำให้มีความชื้นสูง และอาจเน่าเสียง่าย ระหว่างการหมัก หากนำไปล้างน้ำควรซับน้ำให้แห้ง นำเนื้อมาตัดเอาส่วนที่เป็นมันและพังพืดออกให้ หมด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ นำเข้าเครื่องบดเนื้อ หรือใช้มีดสับจนเนื้อละเอียด หนังหมูขูดให้สะอาด ล้างด้วยน้ำ ถอนขนออกให้หมด นำไปต้มสุก นำมาหั่นบาง ๆ กระเทียมแกะเปลือกออกหมด โขลกให้ละเอียด ข้าวเหนียวนึ่งหรือข้าวสวยนำไปโขลกหรือบดให้ ละเอียด

1.2.2 การนวดผสม
นำเนื้อบดแล้วผสมเครื่องปรุง คือ เกลือ ข้างสุก รีกัลเบส โซเดียมไนเตรท ไนไตรท์ น้ำตาลทราย กระเทียมตามสูตร นวดจนเหนียวหรือเป็นก้อนไม่ติดมือ เติมหนังหมูหรือหูหมู และนวดต่อให้ เข้ากัน สำหรับแหนมบางชนิดมีการเติมพริกขี้หนูเพื่อให้มีรสเผ็ด

1.2.3 การบรรจุและหมัก
แหนมเมื่อนวดได้ที่แล้วนำไปปั้นเป็นก้อน ห่อด้วยพลาสติกหรือห่อด้วยใบตองกล้วยสด มัดให้ แน่นด้วยยาง เชือก หรือตอก (ถ้าใช้ใบตองกล้วยสด) เพื่อไล่อากาศภายใน เพราะควร หมักแหนม ในสภาพไม่มีอากาศและแขวนหมักไว้ประมาณ 2 -3 วัน ก็รับประทานได้
2. การเก็บรักษา
แหนมเมื่อทิ้งไว้จะเกิดการหมักจนมีรสเปรี้ยวแล้ว จากนั้นควรเก็บไว้ในตู้เย็นหรือในอุณหภูมิ ต่ำ เพื่อไม่ให้ผลิตภัณฑ์มีรสเปรี้ยวเพิ่มขึ้นมากจนเกินไป

3. การเลือกภาชนะบรรจุในการทำแหนม

ภาชนะที่ใช้ในการบรรจุแหนมมี 2 ชนิด คือ พลาสติกและใบตองกล้วยสด พลาสติก ที่นิยมใช้ ในการบรรจุแหนมเป็นโพลีเอทธิลีนชนิดความหนาแน่นสูง ซึ่งเป็นพลาสติกโปร่งแสง ปราศจาก กลิ่น รส เป็นวัสดุที่ขวางกั้นไอน้ำ ก๊าซ น้ำมันและไขมัน นอกจากนี้ยังราคาถูก ในขั้นตอน การหมักแหนมจะเป็นการหมักในสถานที่ไม่มีอากาศ จึงควรใช้พลาสติก ที่ป้องกันการซึมผ่าน ของก๊าซหรืออากาศได้ดี ใบตองกล้วยสด จะต้องสะอาด ไม่มีเชื้อโรค ใบตองกล้วยสด จะมีความหนา และทึบแสงมากกว่าพลาสติก ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความร้อนขึ้น ภายใน ผลิตภัณฑ์แหนม เหมาะแก่การเจริญเติบโต ของเชื้อจุลินทรีย์ ที่ทำให้กิดกรดหรือเกิดรสเปรี้ยว ในผลิตภัณฑ์

4. สุขลักษณะในการทำแหนม การผลิตแหนมจากเนื้อสัตว์เป็นการนำเนื้อสัตว์มาผ่านขบวนการผลิตโดยการหมัก ซึ่งขบวนการนี้เกี่ยวข้องกับสุขศาสตร์เนื้อสัตว์มาก ตั้งแต่นำเนื้อสดมาผสมสารปรุงแต่งต่าง ๆ กรรมวิธี การผลิต ภาชนะบรรจุและบรรจุหีบห่อจึงจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องการปนเปื้อนมาก เพราะการปนเปื้อนในช่วงนี้จะมีผลกระทบต่อผู้บริโภคเต็มที่ แนวทางในการปฏิบัติมีดังนี้
การซื้อวัตถุดิบ

4.1 การจัดซื้อเนื้อสัตว์ มีหลักการพิจารณาดังนี้

4.1.1 พิจารณาดูความสะอาดของร้านขายเนื้อ ภาชนะอุปกรณ์เครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น ลักษณะและสภาพแวดล้อมในการเก็บเนื้อ การทำความสะอาดและการรักษาความสะอาด
4.1.2 พิจารณาสุขภาพและความสะอาดของผู้ขายด้วย ผู้ช่วย และคนงานที่เกี่ยวข้องที่จับต้องเนื้อ ว่ามีสุขภาพดีหรือมีโรคติดต่อหรือไม่
4.1.3 พิจารณาดูลักษณะของเนื้อ
- สีควรสม่ำเสมอกัน
- ไม่มีลักษณะน้ำเยิ้มจากก้อนเนื้อ
- มีความนุ่มยุ่ยของเนื้อ
- ยึดหยุ่น
- ไม่มีกลิ่นเน่าเสีย
- สิ่งปนเปื้อนไม่มี

4.2 การขนส่งเนื้อสัตว์ มีข้อพิจารณาดังนี้

4.2.1 ระยะทางสั้น และระยะเวลาในการขนส่งควรจะสะดวกรวดเร็ว เพราะจะมีผลต่อคุณภาพของเนื้อนั้น โดยเฉพาะการขยายตัวของจุลินทรีย์
4.2.2 ภาชนะที่ใช้บรรจุควรเหมาะสมกับระยะทางและระยะเวลาในการขนส่ง สามารถป้องกันการปนเปื้อนต่อเนื้อได้ ควรเป็น ภาชนะที่ทำด้วยวัสดุที่ไม่ดูดความชื้น ป้องกันการซึมผ่านของอากาศ มีผิวเรียบ ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ง่าย
4.2.3 การจับต้องเนื้อหรือภาชนะที่บรรจุเนื้อ ควรจะกระทำโดยความระมัดระวัง ไม่ให้เกิดการปนเปื้อนต่อเนื้อได้

4.3 การจัดซื้อวัสดุอื่น ๆ เช่น สารปรุงแต่ง ส่วนประกอบอื่นควรพิจารณาถึง คุณภาพ ของผู้ผลิต ลักษณะการบรรจุหีบห่อ ฉลาก การจัดเก็บสินค้า ของผู้ขายวัตถุดิบ ที่นำมาใช้ ในการผลิตต้องจัดเก็บให้เป็นหมวดหมู่ เนื้อสัตว์ควรจัดเก็บไว้ในที่เย็นเพื่อรักษาคุณภาพไว้ วัสดุอื่นที่ใช้ปรุงต้องไม่ปะปนกับวัสดุอื่น ๆ ที่ใช้ทำความสะอาด ใช้บรรจุหีบห่อ หรือปะปนกับผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพราะจะเกิดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์ที่ทำให้เน่าเสียได้ง่าย

5.การผลิต

ในการผลิตอาหารสำหรับบริโภคมีข้อควรพิจารณา 4 ประการดังต่อไปนี้

5.1 สถานที่ผลิต ตลอดจนอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ทุกชนิด ควรมี การทำความสะอาด ทุกครั้ง ก่อนและหลังการผลิต
5.2 ผู้ทำการผลิตต้องมีสุขภาพที่ดี ไม่มีโรคติดต่อหรือโรคที่น่ารังเกียจ มีความรู้และความเข้าใจในเรื่องสุขศาสตร์ การปฏิบัติก่อนเข้าผลิต ระหว่างการผลิต และหลังการผลิต
5.3 วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตต้องมีคุณภาพดี ได้แก่ เนื้อสัตว์ สารปรุงแต่ง วัสดุหีบห่อ วัตถุดิบเหล่านี้ควรจัดเก็บรักษาให้ดี การเคลื่อนย้ายต้องกระทำด้วยความ ระมัดระวัง ไม่ให้เกิดชำรุดเสียหาย หรือเกิดการปนเปื้อนได้
5.4 กรรมวิธีการผลิตถูกต้อง มีการตรวจเช็คและควบคุม การผลิตโดยใกล้ชิด โดยเฉพาะการรักษาความสะอาด ขั้นตอนการผลิต การเติมสาร ปรุงแต่งชนิดต่าง ๆ การบรรจุหีบห่อ การปิดฉลาก และการเก็บรักษาคุณภาพก่อนส่ง ออกจำหน่าย

มารู้จักวัตถุดิบ วัสดุ และอุปกรณ์ในการทำแหนมกันเถอะ

ตอนที่ 2
มารู้จักวัตถุดิบ วัสดุ
และอุปกรณ์ในการทำแหนมกันเถอะ


การที่จะทำแหนม ให้มีคุณภาพดี จำเป็นต้องรู้จัก เลือกใช้วัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ที่ใช้แหนม อย่างเหมาะสม

คุณรู้หรือไม่ แหนมทำมาจากอะไร

ผู้บริโภคหรือผู้ประกอบการเกี่ยวกับการใช้เนื้อ เพื่อนำไปแปรรูปทำผลิตภัณฑ์แหนมควรจะทราบถึงสิ่งต่าง ๆ ที่มีผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์แหนมที่ต้องการ และสิ่งสำคัญอันดับแรกที่จะต้องคำนึงถึงก็คือ คุณภาพของวัตถุดิบที่จะใช้ เพราะว่าคุณภาพของผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายจะดีไปไม่ได้ถ้าวัตถุดิบคุณภาพด้อย ฉะนั้นควรที่จะรู้จักกับวัตถุดิบต่าง ๆ ในการทำแหนม ได้แก่


1. เนื้อสัตว

เนื้อ หมายถึง เนื้อที่ได้จากสัตว์เพื่อนำมาใช้เป็นอาหาร ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อ และอวัยวะต่าง ๆ เช่น ตับ หัวใจ และส่วนอื่น ๆ ที่บริโภคได้ เนื้อจากสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ โค กระบือ สุกร แพะ แกะ เป็นต้น เนื้อสัตว์จะมีส่วนประกอบ ทางเคม ีแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพของสัตว์ก่อนำมาฆ่า สัตว์ต่างชนิดกันหรืออายุต่างกัน โดยทั่วไป กล้ามเนื้อของสัตว์จะมีส่วนประกอบทางเคมี ได้แก่ น้ำ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เอ็นไซม์สี และแร่ธาตุต่าง ๆ ป็นต้น

2. สารให้สี

การทำแหนมในระดับชาวบ้าน มักมีการเติมดินประสิวลงไปด้วยเล็กน้อย เพื่อให้เกิดสีแดงสวย โดยปริมาณที่ใช้เติมนั้นไม่ได้มีการชั่ง ตวง วัด ใช้ประมาณเองตามความชำนาญที่ปฏิบัติมา ซึ่งนับว่าเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค เพราะสารให้สีดังกล่าวจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหารพวกไนเตรทและไนไตรท์ ซึ่งมีกฏหมายควบคุมกำหนดปริมาณการใช้ โดยอนุญาตให้ใช้ได้ไม่เกิน 200 - 500
มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม ซึ่งต้องคำนวณในรูปโซเดียมไนเตรท และโซเดียมไนไตรท์ ตามลำดับ ปัจจุบันการใช้ไนเตรทและไนไตรท์ ผสมกับอาหารมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ

2.1 เพื่อช่วยให้อาหารโดยเฉพาะเนื้อสัตว์มีสีแดงคงทน ไม่เสื่อมสลายไป ขณะหุงต้ม
2.2 ทำให้อาหารมีรสชาติและกลิ่นเฉพาะ
2.3 ทำให้อาหารเก็บไว้ได้นาน ไนเตรท ไนไตรท์ จะทำหน้าที่เป็นสารกันเสีย ป้องกันการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ โดยเฉพาะพวกที่ทำหน้าที่ให้เกิดการบูด และพวกที่สร้างสารพิษ สารให้สีที่ขอแนะนำให้ใช้คือ ผงเพรก

ผงเพรกเป็นสารเคมีพวกสารประกอบไนเตรทไนไตรท์ ใช้ใส่ลงผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดกลิ่นและรสที่ต้องการ ทำลายจุลินทรีย์ที่เป็นพิษและทำให้เกิดโรค และเพิ่มลงไปเพื่อทำให้ผลิตภัณฑ์มีสีดีขึ้น

3. ส่วนผสมอื่น ๆ
เกลือ
การเติมเกลือประมาณ 2 - 3 % ของน้ำหนักอาหาร จะช่วยทำหน้าที่ป้องกัน ไม่ให้จุลินทรีย์อื่น ๆ เจริญได้ และช่วยดึงน้ำและน้ำตาลจากเนื้อ และยังสามารถ ทำหน้าที่เป็นสารกันบูดได้

วัตถุประสงค์ ของการใส่เกลือ ในแหนมคือ ทำให้เกิดรสเค็ม และทำให้แหนมเก็บไว้ได้นาน ปริมาณเกลือที่ใส่ถ้าน้อยเกินไป จะทำให้แหนมเน่าเสียได้ และถ้าใส่เกลือมากเกินไป แหนมที่ได้จะมีรสเปรี้ยว น้อยกว่ารสเค็ม

ข้าว
ข้าวที่ใส่ลงในแหนมเป็นข้าวที่ผ่านการหุงต้มจนสุกแล้ว ใช้ได้ทั้งข้าวเจ้า และข้าวเหนียว การใส่ข้าวลงไป ก็เพื่อเป็นแหล่งคาร์โบดฮเดรต แก่แบคทีเรีย ที่สร้างกรดแลคติก ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้แหนม มีรสเปรี้ยว

กระเทียม
ตามปกติมักจะบดกระเทียมให้ละเอียดก่อน แล้วจึงใส่ลงในผลิตภัณฑ์ การใส่กระเทียมจะให้ผลทั้งในแง่เพิ่มกลิ่นหอมและรสชาติของแหนม และยังช่วยเป็นสารกันบูดได้ด้วย โดยจะใส่ประมาณ 10 % ของน้ำหนักอาหาร

รีกัลเบส
รีกัลเบสเป็นเกลืออิริธอเบทที่จะช่วยให้สีแดง ของผลิตภัณฑ์เนื้อมีสีสันสวยงาม และอยู่คงทน สีจะไม่ซีดจาง เมื่อวางขาย ในตู้โชว์ รีกัลเบสอย่างเดียว ไม่มีประสิทธิภาพทำงานได้อย่างเต็มที่ ต้องใช้ ร่วมกับผงเพรก

พริกขี้หนู
การทำแหนมอาจจะมีการเติมพริกขี้หนูเป็นเม็ด ๆ พริกขี้หนูที่เติมนั้น นอกจากจะให้รสเผ็ดเมื่อบริโภคแล้ว ยังช่วยเพิ่มสีสันที่สวยงามให้กับแหนมอีกด้วย

ใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้างในการทำแหนม
การทำแหนมบริโภคกันเองภายในครัวเรือนไม่จำเป็น ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ ที่ยุ่งยาก แต่ถ้ามีการผลิตเพื่อจำหน่ายในปริมาณมาก ๆ จะมีอุปกรณ์ช่วยทุนแรงในการผลิต ซึ่งอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำแหนมมีดังนี้

1. เครื่องบดเนื้อ
2. เครื่องอัดไส้
3. เครื่องชั่งชนิดละเอียดและชนิดหยาบ
4. อุปกรณ์เครื่องครัวต่าง ๆ ได้แก่ มีด เขียง ถาด กะละมัง หม้อ เตา

มาทำแหนมกันดีกว่า

ตอนที่ 1
มาทำแหนมกันดีกว่า


1 แหนมเป็นการแปรรูป ผลิตภัณฑ์เนื้อ โดยการหมัก ประชาชน นิยมรับประทาน มาก
2 แหนมมีคุณค่าโภชนาการ ที่มี ประโยชน์ ต่อร่างกาย
3 การทำแหนมไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องใช้ เทคโนโลยี และเงินทุนมาก สามารถ ทำเป็นธุรกิจได้
แหนม หมายถึงอะไร
เมื่อมีใครพูดถึงแหนม เราจะนึกภาพถึงเนื้อที่ถูกห่อ อยู่ในถุงพลาสติก หรือถูกห่อด้วยใบตอง โดยมีส่วนของหนังหมู ข้าวสุก และมีรสเปรี้ยวเล็กน้อย แต่ตอนนี้จะพูดถึงความหมาย ของแหนม ดังนี้

แหนม หมายถึง ผลิตภัณฑ์เนื้อที่เตรียมได้ โดยการนำเนื้อ มาบด หรือสับให้ละเอียด ใส่หนังหมูไปผสมกับเกลือ กระเทียมบด และ สารประกอบ ไนเตรทหรือไนไตรท์ แล้วบรรจุห่อ ด้วยใบตอง หรือ พลาสติก เก็บไว้ 2-3 วันก็สามารถนำมารับประทานได้

คุณค่าทางโภชนาการ
บริโภคแหนมแล้วได้อะไร หลายท่านอาจคิดกันว่า เมื่อ บริโภคแหนมแล้ว ท่านจะได้อะไรบ้าง นอกจาก รสชาติ ความอร่อย ที่ได้รับจากการบริโภคแหนม ส่วนประกอบหลัก ที่ใช้ในการทำแหนม ก็คือ เนื้อ เนื้อเป็นแหล่งสำคัญ ของอาหารโปรตีนที่มี คุณภาพดี เป็นแหล่งของแร่เหล็ก และวิตามินบี ซึ่งสารอาหารเหล่านี้ มีอยู่พร้อมในเนื้อสัตว์

การแปรรูปเนื้อสัตว์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ เป็นการใช้ ประโยชน์จาก เนื้อหมูและเนื้อวัว ซึ่งอุตสาหกรรมแปรรูป เนื้อสัตว ์ในประเทศไทย ส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจาก คนจีน ที่เข้ามาอยู่อาศัย และทำมาหาเลี้ยงชีพ โดยการทำ ผลิตภัณฑ์พวก กุนเชียง หมูแผ่น ลูกชิ้น ซึ่งมีการผลิตสูง รองลงมาเป็น ผลิตภัณฑ์ อาหารพื้นบ้าน ของไทยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ พวกแหนม หมูยอ และไส้กรอกเปรี้ยว สำหรับแหนมนั้นเป็นผลิตภัณฑ์ ที่ได้รับความนิยมบริโภคกันเป็นอย่างมาก


การทำแหนม




แหนม เป็นอาหารพื้นเมือง ที่นิยมบริโภค กัน โดยทั่วไป ในท้องถิ่นภาคเหนือ และความ นิยม ก็ได้แพร่หลาย ไปยัง ประชาชน ในภูมิภาค อื่นๆ กว้างขวางขึ้นตลอดมา ช่องทาง ในการผลิตอาหารประเภทนี้ เพื่อการจำหน่าย จึงยังเปิดกว้าง สำหรับผู้ที่ตั้งใจ ประกอบธุรกิจ ที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เทคโนโลยี และ ทุนสูงนัก กรมการศึกษานอกโรงเรียน จึงได้จัดทำ ชุดวิชา "การทำแหนม" เพื่อเป็นการ สนับสนุน ให้ประชาชนทั่วไป และนักศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียน การศึกษา นอกโรงเรียน ทุกหลักสูตร ได้ศึกษาค้นคว้า และนำไปใช้ ประกอบอาชีพ ด้วยตนเอง รวมทั้งจะได้รับ ผลพลอยได้ คือ การนำไปเทียบโอน ผล การเรียนตามหลักสูตร แต่ละระดับ และ ประเภท ได้อีกด้วย